วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการประวัติศาสตร์ในดินแดนในเอเชียตะวันออก

 ตะวันออกมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย ซึ่งเป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนที่มี แหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำฮวงเหอต่อมาจึงแพร่หลายออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติสำคัญในดินแดนเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีดังนี้

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จีน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔)
ภายหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นสลายลง เมื่อ พ.ศ. ๗๖๔ ดินแดนจีนได้แตกแยกโดยมีผู้นำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ที่เรียกว่าสมัยสามก๊ก(พ.ศ. ๗๖๔-๘๐๘) ได้แก่
  • กลุ่มโจโฉ ปกครองอาณาบริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  •  กลุ่มซุนกวน ซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ฮั่น ปกครองบริเวณลุ่มน้ำแยงชีและกลุ่มเล่าปปกครองบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ทั้งสามกลุ่มต่างสู้รบ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่
  •  จนกระทั่งในที่สุดทายาทของกลุ่มโจโฉสามารถรวม อาณาจักรและตั้งราชวงศ์ ได้สำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ.๘๐๘ แต่กษัตริย์ราชวงศ์นี้ไม่สามารถรวบรวม

            อาณาจักรได้นาน เพราะเกิดการขัดแย้งทางการเมือง ภายในทำให้มีผู้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการรุกรานจากกกลุ่มชนทางตอนเหนือ ได้แก่ พวกตุรกี ฮั่นและมองโกล   ในที่สุดหยางเฉิน เป็นผู้นำในการรวบรวมอาณาจักรโดยปราบปรามแคว้นต่างๆ แต่ผู้ที่ตั้ง เป็นจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์สุยได้สำเร็จคือหางตี้ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ ราชวงศ์ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๑๑๒๔ ทำการปกครองจีน    ต่อมาอาณาจักรถูกรุกรานจากเผาต่างๆที่มาจากทางเหนือทำให้อาณาจักรเสื่อมลงเป็นเหตุให้หลี หยวน หรือจักรพรรดิ ถัง ไท จื่อ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิตั้งราชวงศ์ถังได้ในปี พ.ศ.๑๑๖๑ สมัยราชวงศ์ถังซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซีอาน ถือว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีนเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจการต่างประเทศยุคนี้มี กบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๔๕๐
        
            ภายหลังจากราชวงศ์ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๐-๑๕๐๓ อาณาจักร จีนอันกว้างขวางได้แตก แยกเป็นแคว้นถึงสิบแคว้นมีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระในที่สุดนายพลเจา กวง หยิน สามารถตั้งตัวเป็นจักรพรรดิซ่ง ไทย สือ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไคฟงและเมืองฮังโจวราชวงศ์นี้แม้ว่าได้ทำการปรับปรุงเศรษฐกิจ การปกครองและการศึกษา  แต่เนื่องจากต้องใช้จ่ายเงินในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าที่อยู่ทางตอนเหนือ โดยเฉาะพวกมองโกลและเกิดภาวการณ์เพิ่มประชากร ทำให้มีผลกระทบเช่นความอดอยาก การขาดแคลนที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง

            ชาวมองโกลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๙๑๑)มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองข่านพาลิก(ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง)ในรัชกาลจักรพรรดิกุบไลข่านจีน ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ราชวงศ์หยวนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการต่อต้านโดยชาวจีนประกอบกันเกิดภาวะเงินเฟ้อและ ภัยธรรมชาติ
   
         ในที่สุด จู หยวน จัง อดีตพระในพระพุทธศาสนาจึงยึดอำนาจ พร้องทั้งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหุง อู่ แห่งราชวงศ์หมิงใน พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหนานจิง ภายหลังจึงยึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีการขยายตัวทางการค้า เนื่องจากบ้านเมืองมีความสงบแต่ในตอนปลายราชวงศ์เกิดการแย่งชองราชบัลลังก์ในกลุ่มพระจึงทำให้ราชวงศ์หมิงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง     จนในที่สุดเนอฮาชิ ชาวแมนจูซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมุกเดนในแหลมเลียวตุงได้รวบรวมกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่งสถาปนาราชวงศ์ชิง( พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕)ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมลงเนื่องจาก    ได้รับการต้านจากชาวจีนที่ถือว่าราชวงศ์นี้เป็นชาวต่างชาติราชวงศ์แมนจูยังต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มประชากรและโจรสลัดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนรวมทั้งการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งมีผลกระทบทำให้ยุคราชวงศ์ของจีนสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔ มีพัฒนาการ ดังนี้
                 
               การเมืองการปกครอง  
            
            จีนได้มีการปกครองในรูปแบบจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่งจักพรรดิแห่งราชวงศ์สุยได้ทำการประมวลกฎหมาย อาญาและปรับปรุงระบบการบริหารภายในซึ่งราชวงศ์ถึงได้นำมาเป็นอย่างแล้วปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยการแบ่งหน่วยงานส่วนกลางออกเป็น ๖กระทรวง ได้แก่
1.             กระทรวงข้าราชการ
2.             การคลัง
3.             ทหาร
4.              ยุติธรรม
5.             โยธา
6.             พิธีกรรม
ส่วนในหัวเมือง ราชวงศ์ถังได้แบ่งหน่วยปกครองออกเป็นมณฑลและจังหวัด โดยแต่ละมณฑล จักรพรรดิโปรดส่งข้าหลวงไหปกครองและให้แยกอำนาจออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการทำให้อำนาจ ของจักรพรรดิกระจายออกไปยังมณฑลต่างๆ
     เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนได้ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมือง  จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งขึ้นมามีอำนาจราชวงศ์นี้ พยายามเลียนแบบการบริหารและการปกครองแบบราชวงศ์ถังแต่เพื่อป้องกันการกบฏจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งได้เสริมสร้างอำนาจส่วนกลางให้ควบคุม หัวเมืองรัดกุมขึ้น เช่น ให้ฝ่ายทหารหัวเมืองขึ้นอยู่กับฝ่ายพลเรือน จึงเป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆอ่อนแอดังนั้น เมื่ออาณาจักรจีนถูกรุกรานจากพวกมองโกลและพวกแมนจู หัวเมืองจึงไม่อาจต้านทานกำลังจากผู้รุกรานเหล่านี้จนในที่สุดราชวงศ์ซ่ง จึงหมดอำนาจลงแล้วชาวมองโกลจึงเข้ามาปกครองจีนชาวมองโกลเป็นนักรบที่เข้มแข็ง สามารถใช้กองกำลังขยายอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักร

             ด้านเศรษฐกิจ   
            ทำการค้าติดต่อกับต่างชาติ เช่น มีการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นและได้ส่งทูตไปเรียกร้องบรรณ การและค้าขายกับหมู่เกาะทาง ตอนใต้ ทำให้จีนได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากบรรณาการต่างๆที่นำมาถวายโดยนำมาให้หรือ แปรรูปสมัยราชวงศ์ถัง  จีนเริ่มปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ชาวนามีที่ดินทำกินเพราะที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ในเมืองจีนมีจำนวนน้อยนอกจากนี้จีนยังทำการค้ากับนานาชาติ โดยใช้เส้นทางบกไปจนถึง อินเดียเปอร์เซียและยุโรปส่วนเส้นทางทะเลจีนได้ติดต่อกับญี่ปุ่น อาณาจักรจามปา ศรีวิชัยและเมืองในเกาะลูซอน
            จนในพุทธศตวรรษที่ ๒๔เมื่อราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีน มีการค้ากับต่างชาติขยายมากขึ้นทั้งนี้เพราะชาวตะวันตกบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าสิน ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องลงรัก หมึกจีน พลอยเทียม และชา สำหรับสินค้านำเข้า ได้แก่ ผ้าขนสัตว์ยารักษาโรค ฝิ่น และเครื่องจักรกล ในปลายราชวงศ์ชิงมีการตั้งธนาคารแห่งชาติ เพื่อจ่ายเงินตามแบบตะวันตก

สังคมและวัฒนธรรม  
 
    ความเชื่อและศาสนา ในช่วงสามก๊ก สังคมจีนเกิดความยุ่งยากเนื่องจากการสู้รบทำให้ผู้คนแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจ พระพุทธศาสนาได้รับการ ฟื้นฟูพระสงฆ์ในยุคนั้นมีความรู้ ในพระธรรมวินัยและให้วิธีการเผยแผ่ศาสนาโยวิธีสังคมสงเคราะห์      พระภิกษุชื่อเสียงได้แก่ พระภิกษุฟาเลียน ที่เดินไปอินเดียโดยทางบกผ่านดินแดนเดเชียกลาง แต่เดินทางกลับจีนทางทะเลและพระภิกษุถังชำจั๋งเดินทางบกไปกลับจากอินเดียพระภิกษุเหบ่นนี้ได้พระไตรปิฎกและพระสูตรเป็นภาษาจีนทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลาย
              ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาตามเส้นทางการค้า ทางตะวันตก เช่น ที่มณฑลยูนนาน และซินเกียง เนนอกจากนี้ยังความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ เครื่องจักรกลและการแพทย์แต่ต่อมารัฐบาลระแวงชาวตะวันตกว่าเป็นผู้รุกรานจีน ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคริสต์ศาสนาจึงได้รับการต่อต้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น